การกิน กับการกลืนเป็นคนละตอนกัน (๒๔.)

ข้าวต้ม ที่ใช้ข้าวใหม่


[ท่ออาหาร กับท่ออากาศ]
อาหารเมื่อเข้าปาก ก็ต้องเคี้ยว และกลืน (Swallow)
ตอนกลืนลงคอจะมีลิ้นปิดเปิดกั้น
ระหว่างหลอดอาหาร (Oesophagus) กับหลอดลม (Trachea)
โดยทั่วไป ผู้ดูแลจะพะวงว่า ลิ้นปิดเปิดทำงานไม่ดี
ทำให้อาหารหลุดเข้าหลอดลม
บางท่านถึงแก่ชีวิตมาแล้ว และมีเยอะด้วย
คุณแม่ของผมยังไม่พบปัญหานี้ชัดเจน
เพราะมีปัญหาในขั้นตอนการเคี้ยว และกลืน
ถ้ากลืนลง ก็จะผ่านลิ้นปิดเปิดได้ปกติ

[คายอาหารบ่อย]
การเลือกกิน คุณแม่ของผมจะเลือกค่อนข้างมาก
ถ้าไม่ถูกปาก ไม่ถูกใจ ก็จะไม่นำเข้าปาก
ถ้านำเข้าปากก็จะเคี้ยวและกลืน
กลไกการกินก็น่าจะเป็นเช่นที่ว่าไว้ข้างต้น
วันนี้
อาหารถูกปากทุกรายการ
มีทั้งแกงขี้เหล็ก ไข่เค็ม กุงเชียง ข้าวต้มข้าวใหม่
แต่คุณแม่คายทิ้งถึง 2 ครั้ง ๆ ละคำใหญ่ ๆ
ดูแล้วก็น่าจะเป็นครึ่งหนึ่งของที่ทานไปทั้งหมด
ไปดูเศษอาหารที่คาย วันนี้ตั้งใจดู เพราะสงสัย
พบว่า
มีกับข้าวหลายรายการ ที่ยังไม่ย่อย เป็นชิ้นอยู่เลย
ที่คายออกมาพร้อมกัน
แสดงว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่การกลืนอย่างเดียว

[ปัญหาการกิน]
ผมสรุปแบบชาวบ้านว่า
คุณแม่ตักอาหารเข้าปากเป็นคำ
แล้วไม่ได้เคี้ยวคำนั้นจนละเอียด แล้วกลืน
แต่ตักคำต่อคำ เข้าไปอยู่ในปาก ตามที่ชอบ
โดยไม่ได้เคี้ยวแล้วกลืนให้จบเป็นคำไป
แสดงว่าคุณไม่ได้ใส่ใจหรือรับรู้กับรสชาติ
คิดแต่ว่ากินคือนำเข้าปาก แบบคำต่อคำ
เมื่อเข้าไปมากก็แน่นมาก ไม่เคี้ยวต่อ
แต่เลือกคายทิ้ง
ต่างกับอาหารหวาน เช่น ผลไม้ ข้าวเหนียวเปียก ขนมปัง
ที่กลืนได้หมดทุกคำ ไม่เคยมีปัญหา
สรุปว่า ต่อไปคงต้องกำกับใกล้ชิด
ให้ท่านปิดงานเป็นคำให้เรียบร้อย
ไม่ใช่กิน แต่ไม่กลืนอย่างที่เป็นอยู่

ความคิดเห็น