เดี๋ยวนี้มีเยอะถึงเกือบร้อยละ 10 ของผู้สูงอายุที่สมองเสื่อมปรากฏชัดเจน (๑.)



[ขอแบ่งปันประสบการณ์] 
เพราะเชื่อว่าหลายท่านอาจกำลังประสบปัญหาแบบผม
จากการค้นข้อมูล พบว่า
ปัจจุบันใครก็เป็นสมองเสื่อมได้
ยิ่งมีญาติเป็นก็ยิ่งมีโอกาส
จากสถิติพบคนที่อายุ 65 ปีขึ้นไป
ป่วยโรคนี้มีมากถึงร้อยละ 5 - 8
และเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ก็จะพบมากขึ้น
จึงสรุปได้ว่า เกือบร้อยละ 10 ที่เป็นสมองเสื่อม
หรือโรคอัลไซเมอร์ ในระยะที่ปรากฏชัดเจนจนสังเกตได้
แสดงว่า อีกเยอะที่อยู่ในระยะที่ไม่ปรากฏอาการ

[นิยาม]
โดย นพ. อิทธิพล ตะวันกาญจนโชติ  เขียนไว้ว่า
"ภาวะสมองเสื่อม
เป็นความถดถอยในการทำงานของสมอง
ซึ่งเกิดจากการสูญเสียเซลล์สมอง 
โดยเริ่มจากส่วนใดส่วนหนึ่ง
แล้วจึงลุกลามไป ยังสมองส่วนอื่น ๆ
https://www.bumrungrad.com/th/betterhealth/2556/better-brain-health/dementia-alzheimer

[ลักษณะของสมองเสื่อม]
1. สมองเสื่อมรักษาได้
ถ้าสาเหตุมาจากความดัน หรือเบาหวาน เป็นต้น
หากทานยาลดความดันเบาหวาน
แล้วลดได้ สมองเสื่อมก็จะทุเลา ตามสาเหตุนั้น ๆ
2. สมองเสื่อที่รักษาไม่ได้
มีทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับว่าความผิดปกติของสมอง
เกิดจากการก่อตัวอย่างผิดปกติของ
โปรตีนอะไมลอยด์ในเนื้อสมอง
ซึ่งในสมองคนสูงอายุทั่วไป สามารถพบโปรตีนดังกล่าวได้
แต่จะมีปริมาณไม่มากเท่ากับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์

[อาการของคุณแม่ ในระยะเริ่มต้น]
ผมสังเกตเห็นอาการของคุณแม่มาหลายปีแล้ว
พอมั่นใจว่าน่าจะเป็นโรคอัลไซเมอร์ระยะเริ่มต้น
ก็พาไปให้คุณหมอฟันธง
แล้วรับยาตลอดมาไม่เคยขาด
แต่คุณแม่ไม่ได้ทานยาตามหมอสั่ง ขาดยา
เพราะผมก็ไม่ได้จัดยาให้คุณแม่ทานทุกมื้อ
เนื่องจากอยู่กันคนละบ้าน
อาการก็ทรง ๆ ส่วนใหญ่ก็ลืมนู่นนั่นนี่ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ

[ได้พูดคุยกับเพื่อน]
มีโอกาสแบ่งปันปัญหาสุขภาพกับเพื่อน ๆ
ก็พบว่าหลายท่านมีผู้สูงอายุที่บ้าน
ก็ขึ้หลงขี้ลืม ผมขอเรียกว่า โรคอัลไซเมอร์ ในระยะที่ไม่ชัดเจน
ถ้าถามว่าแค่ไหนที่เรียกว่า "โรคอัลไซเมอร์"
สรุปว่า พาไปหาหมอเฉพาะทางครับ .. แน่นอนกว่า
ผมก็พาไปพบหมอกนกศรี ตรงข้ามวัดเชียงรายที่ลำปาง
ทราบมาว่าเป็นหมอคนเดียวที่ออกมาเปิดคลินิกด้านนี้
รักษาด้านนี้โดยเฉพาะ คนไข้เยอะมาก
รับยามาทานทุกเดือน ก็มีอาการทรงเรื่อยมา
แม้จะป่วย แต่อยู่ในระยะที่ดูแลตัวเองได้

[ดูแลตนเองได้ จนกระทั่ง] 
ถึงจุดเปลี่ยนของโรคอัลไซเมอร์อย่างชัดเจน
คือ แม่ล้มก้นกระแทก จนกระดูกข้อสะโพกหัก
ซึ่งเป็นโรคยอดนิยมของผู้สูงอายุอีกโรคหนึ่ง
พบข้อมูลนี้จากชาร์ทสถิติ ที่ติดอยู่หน้าห้อง
คุณแม่กลัวการผ่าตัด ตอนที่นอนอยู่ในโรงพยาบาล
จนทำให้โรคอัลไซเมอร์ กำเริบรุนแรงขึ้นมา
ภาษาที่ผมเรียกคือ ช็อคกลัวผ่าตัด
มีอาการช็อคชัดเจน ทราบกันทั้งห้อง
หลังผ่าตัดได้ไม่กี่วัน แพทย์ก็ให้กับบ้าน
อาการจากแผลผ่าตัดดีวันดีคืน
หลังกลับบ้านได้ของแถมมาด้วย
คือ แผลกดทับมา 1 แผล
รักษากันเดือนกว่า ถึงจะหาย

http://www.si.mahidol.ac.th/th/department/radiology/diagRadiology/picture/know/xray/gen%20(2).jpg

[ไม่อาจวางใจ หลังผ่าตัด]
แม้แผลผ่าตัดหายดี กระดูกเหล็กเข้าที่ และใช้งานได้
แต่โรคอัลไซเมอร์รุนแรงขึ้นกว่าก่อนผ่าตัด
ไม่ได้หายไปตามแผล ยังหลงและลืมกว่าเดิม
เหมือนภาพอดีตซ้อนเข้ามา ทดแทนภาพปัจจุบัน
คิดว่าอยู่ในวัยทำงาน คิดว่าลางาน คิดว่าไม่ใช่บ้านตน
และ
มีปัญหาขาขวาข้างที่หัก เดิมใช้ได้ไม่ดี บ่นเจ็บมาตลอด
ทำให้เชื่อได้ว่า แม้แผลจะหาย
แต่ก็จะมีปัญหาในการเดิน
ที่สำคัญ ความไม่รู้ว่าตนเองเดินไม่ได้
แต่ดื้อพยายามเดินด้วยขาของตนเองของผู้สูงอายุ
อาจทำให้ล้มอีก หักอีก และเสี่ยงต่อการติดเตียงในที่สุด

[สรุปว่า]
ตอนนี้คุณแม่ยืนได้ไม่มั่นคง
ลุกยืนเองยังไม่ได้ แขนไม่มีแรง
ขณะมีสติที่จะเดินในแต่ละก้าว ก็ต้องควบคุมใกล้ชิด
หากสติอยู่ไม่ครบ ความสามารถจะถดถอย
เช่น ช่วงตื่นนอน ก่อนนอน หรือกลางดึก
ปัจจุบันจึงต้องพาเดิน พานอน พาเข้าห้องน้ำ
และป้อนข้าวในบางมื้อ .. เหมือนเด็กเลย

กลุ่มในเฟสบุ๊ค แบบสาธารณะ เกี่ยวกับผู้สูงอายุ
https://www.facebook.com/groups/olderperson/

ความคิดเห็น