พรจากฟ้า (๓.)


เป้าหมาย คือ ความสุขของแม่ 

[ภาพยนตร์]
มีโอกาสได้ดูภาพยนตร์เรื่อง พรจากฟ้า จากค่าย GDH
กว่าจะได้ดูหนังก็ลาโรงไปซะก่อน ก็ต้องไปตามดูจนเจอ
เพื่อนแนะนำว่าผมควรดู เพราะลูกสาวคนเล็กเหมือนผม
ในตอนที่ 2 จาก 3 ตอนนั้น
พูดถึง ท่านรองป้อม หรือพี่ป้อม หรือลุงป้อม
ที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's Disease) เหมือนแม่ผม
มีหลายอย่างในภาพยนตร์เหมือนกัน ดูไปก็ร้องไห้ไป
ครอบครัวนี้แม่พึ่งเสีย พ่อป้อมต้องอยู่คนเดียว
แต่อยู่ไม่ได้เพราะป่วยเป็นอัลไซเมอร์
ลูก 3 คน มีน้องคนเล็ก อาสาลาออกงานมาดูแลพ่อ
ดูแล้วก็เป็นทางเลือกที่เหมาะสม ในกรณีนั้น
ผ่านไปพักหนึ่ง น้องฟา ลูกคนเล็กก็ทำใจไม่ได้ในระยะแรก
แอบหนีไปสมัครงานเป็นคนขับรถส่งของเฉยเลย
ผมว่าครอบครัวนี้โชคดีนะที่มีทางออก คือ น้องฟา
เรื่องนี้ให้ข้อคิดที่สำคัญ คือ
เราทำเพื่อตัวเรา ก็พูดแต่เรื่องจริง ที่สมเหตุสมผลของเรา
เราทำเพื่อผู้ป่วย ก็พูดแต่เรื่องที่ผู้ป่วยอยากฟัง ที่เขามีความสุข

[บทเรียนที่ทรงค่า เรื่องการพูด]
ในภาพยนตร์พี่ป้อมอายุมาก ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม
ลืมไปว่าภรรยาเสีย
ก็คิดว่าภรรยายังอยู่ ลูกสาวก็พยายามบอกพ่อให้เข้าใจว่า
คุณแม่ไม่อยู่แล้ว แต่พ่อก็ไม่เข้าใจ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย
พระเอกก็บอกนางเอกให้เออออห่อหมกไปกับคุณพ่อ ให้เค้ายิ้มได้
ถ้าเหตุการณ์ในอดีตเข้ามาเป็นปัจจุบัน
ก็ตอบสนองไปตามสถานการณ์นั้น ๆ
เหมือนตอนที่พี่ป้อมนึกว่าปัจจุบันคืออดีต เป็นตอนที่เค้าไปขอแม่ฟ้าแต่งงาน
กรณีแม่ผม
การอยู่กับคุณแม่ของผม ก็เครียดแบบน้องฟานั่นหละ
หลายครั้งก็เผลอพูดเรื่องความเป็นเหตุเป็นผลไป
เพราะผมไม่ชอบโกหกเหมือนน้องฟา
สังเกตว่าคุณแม่ของผมไม่ชอบเรื่องที่สมเหตุสมผล (Reasonably)
เหมือนพี่ป้อมในเรื่องพรจากฟ้า หวลคิดถึงเรื่องในห้วงคำนึง
คุณแม่ผมก็มีปัญหาที่ขา ต่อไปก็คงต้องพูดดี ๆ ครับ
พูดว่า "เดี๋ยวก็หาย"
พูดตลก ๆ อิอิ ชิมิชิมิ จุงเบย แบบพระเอกบ้าง
แล้วก็ร้องไห้บ้าง เศร้าบ้าง แบบนางเอกบ้าง .. เพื่อสีสันของชีวิต


[มียาชะลออาการโรค]
ดูหนังเสร็จ ก็สังเกตได้ว่าภาพยนตร์หลายเรื่อง
ที่เกี่ยวกับผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ไม่เน้นที่จะพูดถึงการรักษาทางยา
แต่คำว่ารักษาไม่หาย จะทรุดลง เป็นเรื่องที่ฟังบ่อย
ปัจจุบันมีหมอทางสมอง ไปหาแล้วก็ให้ยามา
ช่วยชะลออาการไม่ให้ทรุดเร็ว ไปกว่าในปัจจุบัน
ได้คำแนะนำที่จะทำให้ผู้ป่วยอยู่กับเราได้นานขึ้น มีความสุขขึ้น
โรคทางสมองมีอีกโรคที่มาใกล้กัน คือ โรคพาร์กินสัน
เค้าว่าโรคพาร์กินสัน รู้เร็ว เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า
มีโอกาสจะเล่าในตอนต่อไป .. ผมก็ลุ้นตัวโก่งมาพักหนึ่งเลย



กลุ่มในเฟสบุ๊ค แบบสาธารณะ เกี่ยวกับผู้สูงอายุ
https://www.facebook.com/groups/olderperson/

ความคิดเห็น